share

How to ดูแลผู้สูงอายุด้วย 10 วิธีที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

Last updated: 31 Aug 2023
188 Views
How to ดูแลผู้สูงอายุด้วย 10 วิธีที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

ดังนั้นประชากรในรุ่นปัจจุบันหรือคนรุ่นใหม่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องของวิธีดูแลผู้สูงอายุที่ถูกต้อง โดยบทความของเราจะทำให้ทุกคนเข้าใจตั้งแต่นิยามว่าการดูแลผู้สูงอายุคืออะไร การดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ด้วย 10 วิธีดูแลผู้สูงอายุ และการดูแลตามหลักดูแลผู้สูงอายุตามหลัก 8 อ. จะต้องทำอย่างไรบ้าง และในกรณีที่พบปัญหา อาทิ การดูแลผู้สูงอายุเบื่ออาหารจะต้องทำอย่างไร หรือกรณีที่ต้องเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุควรเลือกที่ใด โดยปกติแล้วการรับจ้างดูแลผู้สูงอายุ รายวันมีราคาค่าจ้างอย่างไร ทุกเรื่องทุกข้อสงสัย เราได้รวบรวมเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้มาแชร์ตอบเพื่อให้ทุกคนได้ร่วมเรียนรู้รับทราบไปพร้อมกัน

ดูแลผู้สูงอายุ คืออะไร
การดูแลผู้สูงอายุ คือการดูแลบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปตั้งแต่ด้านของสุขภาพกาย สุขภาพใจ การจัดสวัสดิการและบริการ รวมทั้งที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี ป้องกันโรคเรื้อรัง และยืดระยะเวลาการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงให้ช้าที่สุด 

จุดประสงค์ของการดูแลผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงอายุตามบ้านหรือสถานที่ซึ่งรับดูแลผู้สูงอายุ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการจะให้ผู้สูงอายุสามารถที่จะดำรงอยู่ประจำวันได้อย่างมีความสุข มีอิสระที่จะใช้ชีวิตได้ตามที่ตัวเองต้องการ แม้จะอยู่ในสภาวะที่สภาพร่างกายมีความเสื่อมถอยลงไป หรือแม้ในบางท่านจะต้องพบกับภาวะเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังก็ตาม ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเองก็จะต้องมีการปรับการดูแลให้มีความเหมาะสม ให้ผู้สูงอายุพึ่งพาบุคคลอื่นให้น้อยที่สุด เพื่อให้ผู้สูงอายุเองมีความสุขกายและสบายใจในช่วงบั้นปลายของชีวิตนั้นเอง

 
ดูแลผู้สูงอายุตามหลัก 8 อ.

หลักการดูแลผู้สูงอายุตามหลัก 8 อ. เป็นหลักการที่ผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในการดูแลตัวเอง เพื่อให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดี จิตใจแจ่มใส เป็นที่รักของลูกหลานคนรอบข้างและมีความสุขได้ ดังนี้

1. อาหาร
ผู้สูงอายุจะต้องลดพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมัน สำหรับโปรตีนควรเลือกรับประทานจากประเภทของเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย อาทิ ปลา รวมถึงไข่ขาว ในส่วนของไข่แดงสามารถรับประทานได้ โดยแต่ละสัปดาห์ไม่ควรเกินจำนวน 3 ฟอง ควรที่จะหันมารับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น โดยจะต้องเป็นกลุ่มของผลไม้ที่ไม่มีรสชาติหวานจัด

2. อนามัย
ผู้สูงอายุควรหมั่นสังเกตการทำงานของร่างกาย และลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

3. ออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุควรที่จะออกกำลังกายต่อสัปดาห์ให้ได้จำนวน 3 – 4 ครั้ง เพื่อให้สุขภาพร่างกายมีความแข็งแรง

4. อุจจาระ ปัสสาวะ
ผู้สูงอายุหากพบว่าตัวเองเริ่มขับถ่ายยาก หรือไม่สามารถกลั้นการขับถ่ายได้ ควรรีบไปพบแพทย์

5. อากาศและแสงอาทิตย์
ผู้สูงอายุควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ และควรที่จะได้รับแสงแดดบ้าง

6. อารมณ์
ผู้สูงอายุจะมีอารมณ์แปรปรวนเปลี่ยนแปลงง่าย จึงควรที่จะหาวิธีหรือกิจกรรมที่เข้ามาช่วยควบคุมอารมณ์ เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง ศึกษาธรรมะเพื่อให้มีสติ สมาธิ และรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น

7. อุบัติเหตุ
ผู้สูงอายุจะต้องระมัดระวังการชีวิตประจำวันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยการปรับสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหมาะสม หากเป็นคนที่มีอาการสายตายาวจะต้องใส่แว่นตา 

8. อดิเรก
ผู้สูงอายุควรจะหางานอดิเรกทำ อาทิ อ่านหนังสือ เล่นหมากรุก เพื่อเพิ่มความสุขใจให้กับตัวเอง ไม่เสียเวลาไปหมกมุ่นกับสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ

 
10 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ดูแลอย่างไรให้ถูกหลักอนามัย สุขภาพกายและใจดีสมวัย

เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน หรือการดูแลผู้สูงอายุ รายวันเป็นเรื่องที่ได้ง่ายมากขึ้น บุคคลที่รับดูแลผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นลูกหลานของผู้สูงอายุเอง หรือคนที่รับจ้างดูแลผู้สูงอายุ ควรที่จะทราบ 10 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้

1. เรื่องการรับประทานอาหาร
อาหารของผู้สูงอายุควรจะเป็นลักษณะที่มีการช่วยบด สับ ต้มหรือนึ่งให้ โดยคนที่ดูแลผู้สูงอายุจะต้องหมั่นสังเกตช่องปากและฟันของผู้สูงอายุว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ หากมีจะได้พาไปหาหมอได้อย่างทันท่วงที และการดูแลผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ผู้ดูแลอาจพาไปทานข้าวนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศร่วมด้วย

2. การออกกำลังกาย 
ผู้ดูแลสามารถที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งตกอยู่ในภาวะเคลื่อนไหวออกกำลังกายไม่สะดวก แล้วอาจจะช่วยในการยกขายกแขน หรือจัดเวลาเพื่อไม่ให้ใช้เวลาในการออกกำลังกายมากจนเกินไป ควรออกกำลังเพียงเท่าที่พอไหว

3. เรื่องสุขวิทยา 
ผู้สูงอายุบางคนอาจอยู่ในภาวะที่ติดบุหรี่หรือทานเหล้า ผู้ดูแลจะต้องพยายามแนะนำให้ลด ละ เลิก เพื่อจำกัดสิ่งต่าง ๆ ที่จะทำให้สุขภาพแย่ลง

4. เรื่องการขับถ่าย 
ในผู้สูงอายุมักจะพบว่าส่วนใหญ่มีการปัสสาวะและอุจจาระบ่อยขึ้น ผู้ดูแลจำเป็นจะต้องช่วยสังเกตว่าในแต่วันมีการขับถ่ายน้อยหรือมากเกินไป การขับถ่ายมีความผิดปกติอะไรหรือไม่

5. เรื่องความสะอาด
ในแต่วันผู้ดูแลจะต้องดูว่าผู้สูงอายุอาบน้ำกี่ครั้ง อาบน้ำสะอาดหรือไม่ ตรวจสอบซอกมือ ซอกเล็บ ซอกเท้า หรืออาจช่วยดูแลการแช่มือแช่น้ำแล้วคอยดูว่าหลังจากทำมีความผิดปกติใดเกิดขึ้นกับร่างกายหรือไม่

6. เรื่องของการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ
ผู้ดูแลควรช่วยดูเรื่องของการใช้เครื่องช่วยพยุงหรือไม้เท้าในขณะที่ผู้สูงอายุเดินไปเดินมา สังเกตว่าการเดินของเขามีความผิดปกติหรือไม่

7. เรื่องการรับประทานยา
เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะต้องมียาประจำตัว ผู้ดูแลจึงต้องดูว่ามียาอะไรบ้างที่ต้องช่วยจัดให้ทาน หรือผู้สูงอายุจัดเองได้ถูกต้อง ทานได้ตรงตามเวลาหรือไม่ ตลอดจนการนัดพบแพทย์ ผู้ดูแลจะต้องคอยดูว่าในแต่ครั้งที่ไปพบแพทย์ผู้สูงอายุไปตรงตามเวลาได้หรือไม่ หรือในกรณีที่มีอาการผิดปกติทำให้ต้องไปพบแพทย์ก่อนนัดผู้ดูแลก็สามารถพาไปได้

8. เรื่องสภาพจิตใจ
ผู้ดูแลอาจแนะนำผู้สูงอายุให้มีการปล่อยวางบ้างในบางเรื่อง หรืออาจพาไปทำบุญ ทำกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขทางกายและใจ

9. สิ่งแวดล้อมในบ้าน
ลักษณะของบ้าน ที่อยู่อาศัยที่เป็นสิ่งแวดล้อม ผู้ดูแลต้องตรวจสอบว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้สูงอายุพลัดตกหกล้มหรือไม่ ในห้องน้ำมีสิ่งกีดขวางหรือไม่ พื้นห้องเป็นลักษณะแบบไหน ผู้สูงอายุเดินแล้วมีความมั่นใจในการเดินหรือไม่ ผู้ดูแลจะต้องคอสังเกต

10. ความอบอุ่นในบ้าน
ผู้สูงอายุบางคนอาจจะอยู่คนเดียวอย่างสงบ แต่ในความเป็นจริงการที่ผู้ดูแลพาลูกหลานมาหา มาชวนพูดคุย หรือพาออกไปเที่ยวนอกบ้านบ้างก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากยิ่งขึ้น


ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุคืออะไร


ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือ Nursing Home (เนอร์สซิ่งโฮม) เป็นบริการใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในไทย และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเนอร์สซิ่งโฮม หรือที่เรียกอีกชื่อว่าเนอร์สซิ่งโฮมแคร์ เป็นสถานที่สำหรับดูแล ช่วยเหลือ ให้ที่พักฟื้นตั้งแต่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ต้องการพักรักษาตัวระยะสั้น ๆ ไปจนถึงระดับคนพิการ และผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นระยะยาวอย่างผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด

บทความที่เกี่ยวข้อง
จับสังเกตอาการแรกเริ่มเส้นเลือดในสมองตีบที่เราต้องระวัง!
ด้วยโรคหลอดเลือดในสมองตีบ หรือ stroke เป็นโรคที่อันตรายเปรียบเสมือนภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คน บทความของเราจึงหยิบเอาอาการเส้นเลือดในสมองตีบมาอธิบายให้ทุกคนได้อ่านและนำไปสังเกต ทำความเข้าใจอาการสโตรก รู้ว่า stroke คืออะไร ischemic stoke คืออะไร เมื่อมีความรู้และเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ในเบื้องต้นแล้ว จึงจะสามารถดูแลทั้งตนเองและคนรอบข้างที่คุณรักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
20 Oct 2023
แนะนำวิธีการฟื้นฟูผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบแบบฉบับคุณหมอ!
ด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบไม่ใช่โรคที่ห่างไกลตัว เราทุกคนย่อมเกิดอาการเหล่านี้ได้ สิ่งสำคัญคือกการศึกษาวิธีการดูแลฟื้นฟูตนเองหรือคนในครอบครัวที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบอย่างถูกวิธีตามแบบฉบับที่แพทย์แนะนำ ตั้งแต่การศึกษาว่าเส้นเลือดในสมองตีบ อาการเริ่มแรกเป็นอย่างไร ในกลุ่มคนที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ กรรมพันธุ์มีความเกี่ยวข้องกันจริงหรือไม่ และเมื่อพบว่าตนเองหรือคนที่ดูแลเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ อาหารที่ควรเลือกรับประทานแบบไหนจึงจะมีความเหมาะสม ตลอดจนเส้นเลือดในสมองตีบ การพยาบาลที่ดี ตลอดเส้นเลือดในสมองตีบ กายภาพบําบัดที่เหมาะสมจะต้องปฏิบัติอย่างไร
20 Oct 2023
บทบาทของพันธุกรรมในโรคหลอดเลือดสมอง  การค้นหาความเชื่อมโยง
โรคหลอดเลือดสมอง, สาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการทั่วโลก, มักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยเช่น อายุ, วิถีชีวิต, และสภาพสุขภาพพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม, ยังมีมิติอื่นที่ควรพิจารณา: ยีนของเรา บทความนี้สำรวจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างพันธุกรรมและโรคหลอดเลือดสมอง, เพื่อชี้แจงเหตุผลที่บางคนอาจมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น
20 Oct 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy